วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

Event ประจำที่ควรใส่ใจ



การประกาศตัวเลขสำคัญๆ มักจะมีผลต่อตลาดอย่างน้อยครึ่งวัน  ดังนั้นเพื่อให้สามารถตัดสินเข้าซื้อได้ถูกจังหวะ  ผู้เขียนเองก็อยากทบทวนไปด้วย จึงได้รวบรวมความหมายและความสำคัญของตัวเลขเหล่านี้มาไว้ในบล็อกอีกครั้งแบบละเอียดค่ะ และหากรู้สึกว่ามากเกินกว่าจะจำได้  เทคนิคที่สำคัญที่สุดคือดูระดับสีของตัวเลขว่าเป็นสีส้มหรือสีแดงหรือเปล่า  หากเป็นสองสีนี้  ถือว่าสำคัญ และละเลยไปไม่ได้เลย

โดยเอกสารที่นำมาอ้างอิงเป็นหลักมาจากหนังสือ Trade like a Pro โดย Noble Drakoln ที่เขียนมาอย่างเร็วที่สุดคือปี 2005 ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าก็น่าจะใช้ไปได้อีกนาน และควรค่าที่จะอ่านเก็บไว้ค่ะ

1.การประชุมของ FOMC(Federal open Market committee) ที่ใช้ในการตัดสินใจเรื่องนโยบายทางการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการตัดสินใจของคณะกรรมการ 7-12 คนของเฟด โดยการประชุมเกิดขึ้นปีละ 8 ครั้งเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย  และการซื้อพันธบัตร เป็นต้น

2.Consumer Price Index(CPI) ดัชนีราคาผู้บริโภค
เป็นหนึ่งในตัวเลขที่สามารถบอกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ โดยวีกิพีเดียได้ให้ความหมายว่าหมายถึง ตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหามาบริโภคเป็นประจำ ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาในปีที่กำหนดไว้เป็นปีฐาน  หรือเป็นการตัวบอกอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง  ตัวเลขที่ออกมาจะส่งผลให้ FOMC ต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปด้วยนโยบายทางการเงิน  (ถ้าอ่านแล้วรู้สึกไม่เข้าใจ  เพียงตรวจสอบว่าตัวเลขออกมาเป็นสีเขียวหรือสีแดงก็เพียงพอแล้ว  สีแดงคือไม่ดี และสีเขียวคือดี)

3.Consumer Confidence Index(CCI) ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภค
เดือนละครั้งที่จะมีการประกาศตัวเลขนี้ออกมา  ตัวเลขนี้จะบอกธนาคารกลางได้ว่าผู้บริโภคกำลังรู้สึกกลัวหรือมั่นใจกับเศรษฐกิจ  โดยการสำรวจทำขึ้นจากจำนวนประชากรกว่า 5000 ครัวเรือน  จุดประสงค์เพื่อช่วยตัดสินใจด้านสุขภาพทางการเงินและความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของชาวอเมริกัน

4.Jobless Claims Report รายงานการขอรับสวัสดิการผู้ว่างงาน
ทุกๆวันพฤหัสสบดีเวลา 8.30 am ตามเวลาในสหรัฐ(หรือก่อนตลาดเปิด 1 ชั่วโมง)  ตัวเลขจะมีการประกาศออกมา  ตัวเลขนี้แสดงความหมายถึงภาวการณ์ว่างงานโดยทั่วประเทศ  ซึ่งมักมีความเปลี่ยนแปลงได้ง่าย(ผันผวน)  ตัวเลขจะมีการรายงานทุกๆสัปดาห์  แต่ตัวเลขที่น่าจับตามองมากที่สุดคือตัวเลขรายเดือน

5.Producer Price Index(PPI) ดัชนีราคาผู้ผลิต
มักจะออกมาทุกวันที่ 13 ของทุกเดือน   เป็นตัวเลขชี้วัดระดับราคาที่ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตของเดือนก่อน  ยังสามารถบอการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของภาวะเงินเฟ้อหรือเงินตึงตัวจากด้านผู้ผลิต  โดยภายใน PPI มาจากตัวเลขน้ำมัน  สินค้าสำเร็จรูปและอยู่ระหว่างการผลิต รวมทั้งอาหาร

6.Gross Domestic Product :GDP
ใช้ในการตัดสินใจว่าเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างไร  ตัวเลขที่แข็งแรงมักจะมีผลให้ตลาดหุ้นพุ่งทะยานขึ้น  เชื่อกันว่าตัวเลขนีดีพีจะสามารถทำให้ตลาดหุ้นในอีก 4 เดือนข้างหน้าเป็นขาขึ้นหรือขาลงได้โดยการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญ

7.ดัชนีโดยทั่วๆไป
ได้แก่ Export ,Import หรือตัวเลขส่งออกหรือนำเข้า,  ตัวเลขcrude inventoryหรือปริมาณสำรองน้ำมัน, เป็นต้น

 คราวต่อไปคิดว่าจะย่อยหนังสือเล่มนี้เอามาลงอีกเป็นส่วนๆไปค่ะ ^^